เทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวัน

วันพุธที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2562

การพยาบาลผู้ป่วยหลังการผ่าตัด


          การพยาบาลผู้ป่วยหลังการผ่าตัด 

เริ่มต้นจากระยะเวลาที่เคลื่อนย้ายผู้ป่วยมาถึงตึกผู้ป่วยภายหลังการผ่าตัดเสร็จสิ้นลงจนกระทั่งผู้ป่วยกลับบ้านและกลับมาตรวจตามนัดที่โรงพยาบาล เพื่อประเมินผลการรักษา หากพยาบาลสามารถให้การพยาบาลได้เหมาะสมถูกต้องครอบคลุมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคมตลอดจนช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นฟูสภาพ และกลับไปอยู่ในสังคมได้ดี

          ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลหลังผ่าตัดในระยะหลังผ่าตัดทันทีที่พบบ่อย มีดังนี้

1.การแลกเปลี่ยนก๊าซลดลง หรือเสี่ยงต่อภาวะที่ร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ เนื่องจากทางเดินหายใจถูกปิดกั้น
2.มีภาวะที่สารเหลวในร่างกายหรือเสี่ยงต่อการเกิดภาวะช็อค
3.ความสามารถในการสื่อสารโดยใช้ภาษาพูดลดลง เนื่องจากผลจากการใช้ยาระงับความรู้สึกทั่วร่างกาย การได้รับยากล่อมประสาท และจากการใส่ท่อทางเดินหายใจ
4.เสี่ยงต่อการเกิดการแตกลายของผิวหนัง เนื่องจากไม่มีการเคลื่อนไหวร่างกายหรืออยู่ในท่านอนไม่ดีหรือจากการผูกตรึงแขนขา
5.วิตกกังวลต่อสภาพความเจ็บป่วยและสิ่งแวดล้อมในห้องพักฟื้นหรือหออภิบาลผู้ป่วยหนัก
6.มีการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับการขับถ่าย การถ่ายปัสสาวะไม่ออกเนื่องจากการใช้ยาระงับความรู้สึกหรือการเจ็บปวดแผลผ่าตัดมาก 
7.เสี่ยงต่อการเกิดการติดเชื้อของแผลผ่าตัดหรือระบบทางเดินปัสสาวะ เนื่องจากผิวหนังถูกทำลายจากการผ่าตัดหรือระบบการระบายไม่เป็นระบบปิด
8.ขาดความรู้ในการดูแลตนเองเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวขณะกลับไปอยู่ที่บ้านเนื่องจากไม่ได้รับการสอนและแนะนำ

            การพยาบาลหลังการผ่าตัด 

1.จัดท่านอน

2.การประเมินระดับความรู้สึกตัวในระยะแรกหลังการผ่าตัด
3.หาวิธีการสื่อสารอื่นๆ กับผู้ป่วย เมื่อผู้ป่วยไม่สามารถสื่อสาร ด้วยภาษาพูดได้
4.สังเกตอาการเปลี่ยนแปลงและการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ภายหลังการผ่าตัดที่สำคัญ ได้แก่
- ภาวะอุดตันของทางเดินหายใจ
- ภาวะตกเลือด และช็อก
- ภาวะถุงลมปิดแฟบ และปอดบวมเฉพาะที่
- ภาวะเกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำส่วนลึกของขา และความดันโลหิตต่ำ
- ภาวะสะอึก ท้องอืด และลำไส้เป็นอัมพาต การปวดท้องจากแก๊ส
- แผลผ่าตัดแยกจากกันบางชั้นและแผลผ่าตัดแยกจากกันทุกชั้น และมีอวัยวะภายในช่องท้องโผล่ออกมา เช่น ลำไส้
- การคั่งของน้ำปัสสาวะในกระเพาะปัสสาวะ และการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
- แผลผ่าตัดมีการอักเสบ ติดเชื้อ
5.การบรรเทาความเจ็บปวดในระยะ 48 ชั่วโมงแรกหลัง การผ่าตัด
6.การดูแลเกี่ยวกับการให้อาหาร น้ำและ อิเล็คโตรไลท์ให้อยู่ในภาวะสมดุล
7.ดูแลให้มีการระบายของสารเหลว ออกทางท่อระบายต่างๆ
8.การดูแลด้านจิตใจ
9.การสอน และแนะนำเกี่ยวกับ การปฏิบัติตัวขณะที่อยู่โรงพยาบาลและขณะอยู่ที่บ้าน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น