เทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวัน

วันอาทิตย์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2562

วีดีโอการดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัด

การปฏิบัติตัวหลังผ่าตัดช่องท้อง









         การปฏิบัติตัวหลังผ่าตัดช่องท้อง


1. หลังการผ่าตัด ผู้ป่วยจะได้รับการตรวจวัดอุณหภูมิ ชีพจร การหายใจและความดันโลหิต
เป็นระยะจนกว่าสัญญาณชีพจะอยู่ในเกณฑ์ปกติ เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยหลังผ่าตัด
2. ผู้ป่วยจำเป็นจะต้องงดนำ้และอาหารหลังผ่าตัด และ ได้รับสารน้้ำและอาหารทดแทนทาง
เส้นเลือด เมื่อ แพทย์ประเมินว่าลำไส้เริ่มทางาน จะเริ่มทดลองให้จิบน้า รับประทาน
อาหารเหลว เช่น น้าข้าว ซุปใส และ ปรับเพิ่มเป็น โจ๊ก และข้าวต้มตามลาดับ
3. หลังผ่าตัดจะจัดท่านอนศีรษะสูงเล็กน้อยและตะแคงหน้า เพื่อป้องกันไม่ให้อาเจียนหรือลิ้นไป
อุดกั้นทางเดินหายใจ
4.หากผู้ป่วยรู้สึกตัว ให้เริ่มพลิกตะแคงตัวและฝึกหายใจ โดยหายใจเข้า-ออก ลึก ๆ ยาว ๆ และ
หากมีอาการไอ ให้ใช้หมอนกดบริเวณหน้าท้องเบา ๆ ขณะไอ เพื่อช่วยลดแรงสะเทือนจาก
การไอ ทำให้ปวดแผลลดลง
5. หากรู้สึกปวดแผลผ่าตัด หรือคลื่นไส้ อาเจียนให้แจ้งพยาบาล เพื่อให้ยาลดอาการดังกล่าว
6. บางรายมีสายใส่ผ่านจมูกสู่กระเพาะอาหาร เพื่อช่วยระบายลม น้าย่อย หรือมีสายสวนปัสสาวะ
ระวังอย่า ให้เลื่อนหลุด หรือพับงอ ขณะพลิกตัว หรือเปลี่ยนท่า
7. หลังผ่าตัด 24 ช.ม. ถ้าผู้ป่วยไม่มีอาการแทรกซ้อน ใด ๆ ให้เริ่มลุกนั่งบนเตียง โดยให้นอน
ตะแคงแล้ว ใช้ข้อศอกยันตัวลุกนั่ง จากนั้นให้ลงมายืนข้างเตียง เดินรอบเตียง และเดินไกลขึ้น
ตามลาดับ เนื่องจากการลุกจากเตียงได้เร็วจะช่วยให้ระบบไหลเวียนโลหิตดีขึ้น และลาไส้มี
การเคลื่อนไหว ทาให้ลาไส้ทางานได้ดี ลดอาการอืด แน่นท้อง ท้องผูก ทาให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้
เร็ว และกลับบ้านได้เร็วขึ้น
          
         การปฏิบัติตัวเมื่อกลับบ้าน


1. กรณีที่แผลผ่าตัดยังไม่ตัดไหม หรือมีท่อระบายจากบาดแผลในช่วงแรก ระมัดระวังอย่าให้
แผลถูกน้ำ ทำแผลตามแพทย์สั่งที่โรงพยาบาลหรือคลินิคใกล้บ้าน
2. กรณีที่แผลผ่าตัดปิดพลาสเตอร์กันน้า ผู้ป่วยสามารถ อาบน้าได้ แต่ไม่ควรฟอกสบู่หรือถูบริเวณบาดแผล เพราะจะทำให้พลาสเตอร์เผยอ และน้ำซึมเข้าแผล
3. แผลผ่าตัด จะได้รับการตัดไหม หลังผ่าตัด 7-10 วัน และถูกน้ำได้หลังตัดไหม 2 วัน
4. กรณีแผลเปียกน้ำ ให้รีบมาพบแพทย์ที่โรงพยาบาล หรือคลินิคใกล้บ้าน เพื่อทำความสะอาดบาดแผล และเปลี่ยนผ้าปิดแผลใหม่
5. รับประทานยาตามแพทย์สั่ง ไม่ควรซื้อยารับประทานเอง เมื่อยาหมด
6. รับประทานอาหารครบ 5 หมู่ ดื่มน้าอย่างน้อยวันละ 8-10 แก้ว
7. ขับถ่ายให้เป็นเวลา ไม่กลั้นอุจจาระหรือปัสสาวะ ระวังอย่าให้ท้องผูก
8. ทำกิจวัตรประจาวันได้ตามปกติ ยกเว้นการยกของหนัก หลังผ่าตัด 1-3 เดือน
9. พักผ่อนให้เพียงพอ วันละ 6-8 ชั่วโมง
10. มาพบแพทย์ตามนัด หากมีอาการผิดปกติต่อไปนี้ เช่น ปวดแผล มีไข้ แผลผ่าตัดบวม
แดงร้อน มีน้าเหลือง หรือหนองซึมจากแผล ท้องอืด คลื่นไส้ อาเจียน ให้รีบมาพบแพทย์
ก่อนนัด

วันพุธที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2562

การพยาบาลผู้ป่วยหลังการผ่าตัด


          การพยาบาลผู้ป่วยหลังการผ่าตัด 

เริ่มต้นจากระยะเวลาที่เคลื่อนย้ายผู้ป่วยมาถึงตึกผู้ป่วยภายหลังการผ่าตัดเสร็จสิ้นลงจนกระทั่งผู้ป่วยกลับบ้านและกลับมาตรวจตามนัดที่โรงพยาบาล เพื่อประเมินผลการรักษา หากพยาบาลสามารถให้การพยาบาลได้เหมาะสมถูกต้องครอบคลุมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคมตลอดจนช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นฟูสภาพ และกลับไปอยู่ในสังคมได้ดี

          ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลหลังผ่าตัดในระยะหลังผ่าตัดทันทีที่พบบ่อย มีดังนี้

1.การแลกเปลี่ยนก๊าซลดลง หรือเสี่ยงต่อภาวะที่ร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ เนื่องจากทางเดินหายใจถูกปิดกั้น
2.มีภาวะที่สารเหลวในร่างกายหรือเสี่ยงต่อการเกิดภาวะช็อค
3.ความสามารถในการสื่อสารโดยใช้ภาษาพูดลดลง เนื่องจากผลจากการใช้ยาระงับความรู้สึกทั่วร่างกาย การได้รับยากล่อมประสาท และจากการใส่ท่อทางเดินหายใจ
4.เสี่ยงต่อการเกิดการแตกลายของผิวหนัง เนื่องจากไม่มีการเคลื่อนไหวร่างกายหรืออยู่ในท่านอนไม่ดีหรือจากการผูกตรึงแขนขา
5.วิตกกังวลต่อสภาพความเจ็บป่วยและสิ่งแวดล้อมในห้องพักฟื้นหรือหออภิบาลผู้ป่วยหนัก
6.มีการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับการขับถ่าย การถ่ายปัสสาวะไม่ออกเนื่องจากการใช้ยาระงับความรู้สึกหรือการเจ็บปวดแผลผ่าตัดมาก 
7.เสี่ยงต่อการเกิดการติดเชื้อของแผลผ่าตัดหรือระบบทางเดินปัสสาวะ เนื่องจากผิวหนังถูกทำลายจากการผ่าตัดหรือระบบการระบายไม่เป็นระบบปิด
8.ขาดความรู้ในการดูแลตนเองเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวขณะกลับไปอยู่ที่บ้านเนื่องจากไม่ได้รับการสอนและแนะนำ

            การพยาบาลหลังการผ่าตัด 

1.จัดท่านอน

2.การประเมินระดับความรู้สึกตัวในระยะแรกหลังการผ่าตัด
3.หาวิธีการสื่อสารอื่นๆ กับผู้ป่วย เมื่อผู้ป่วยไม่สามารถสื่อสาร ด้วยภาษาพูดได้
4.สังเกตอาการเปลี่ยนแปลงและการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ภายหลังการผ่าตัดที่สำคัญ ได้แก่
- ภาวะอุดตันของทางเดินหายใจ
- ภาวะตกเลือด และช็อก
- ภาวะถุงลมปิดแฟบ และปอดบวมเฉพาะที่
- ภาวะเกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำส่วนลึกของขา และความดันโลหิตต่ำ
- ภาวะสะอึก ท้องอืด และลำไส้เป็นอัมพาต การปวดท้องจากแก๊ส
- แผลผ่าตัดแยกจากกันบางชั้นและแผลผ่าตัดแยกจากกันทุกชั้น และมีอวัยวะภายในช่องท้องโผล่ออกมา เช่น ลำไส้
- การคั่งของน้ำปัสสาวะในกระเพาะปัสสาวะ และการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
- แผลผ่าตัดมีการอักเสบ ติดเชื้อ
5.การบรรเทาความเจ็บปวดในระยะ 48 ชั่วโมงแรกหลัง การผ่าตัด
6.การดูแลเกี่ยวกับการให้อาหาร น้ำและ อิเล็คโตรไลท์ให้อยู่ในภาวะสมดุล
7.ดูแลให้มีการระบายของสารเหลว ออกทางท่อระบายต่างๆ
8.การดูแลด้านจิตใจ
9.การสอน และแนะนำเกี่ยวกับ การปฏิบัติตัวขณะที่อยู่โรงพยาบาลและขณะอยู่ที่บ้าน